อาจารย์ของพวกเรา
หนึ่งในจำนวนอาจารย์องค์แรกๆ ที่สอนวิปัสสนากรรมฐาน ในเมืองบาเร่ ก็คือ โสปาโก โพธิภิกขุ (หรืออาจารย์โสบิน นามโท) ได้เกิดที่ หมู่บ้านวังปลาโด ที่เมืองไทย ในปี ค.ศ. 1931 (พ.ศ. 2474) ในสมัยเป็นเด็กได้ย้ายเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ เพื่อที่จะบวชและศึกษาพระพุทธศาสนา
เมื่ออายุได้ 18 ปี ท่านได้ศึกษาและปฎิบัติวิปัสสนาคือเจริญสติปัฎฐานอย่างเคร่งครัด เป็นเวลา 7 เดือน กับอาจารย์วิปัสสนาชื่อดัง คือท่านเจ้าคุณพระภาวนาภิราม เถระ ผู้ได้แนะนำวิธีการปฎิบัติกำหนดอารมณ์วิปัสสนาอย่างละเอียด โดยการสร้างจังหวะพริกยกหรือ ไหวนิ่งทางกาย และพิถีพิถันมาก เพื่อพัฒนาจิตให้ผ่องใส
หลังจากนั้น ท่านได้ออกธุดงค์ถวายให้เป็นพุทธบูชา ธัมมบูชา และสังฆบูชา ฉลอง25พุทธะศัตวรรษได้เผชิญอุปสรรคอันตรายจากป่า รวมทั้งเสือและงูพิษเป็นต้น
และในประเทศพม่า ท่านอาจารย์โสปาโก โพธิได้ศึกษาวิปัสสนากับอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นหลายท่านรวมทั้งสำนักของอาจาร์ มหาสีสยาดอ ด้วย
เมื่ออายุ 24 ปี ท่านอาจารย์โสปาโก โพธิ ได้ถูกแต่งตั้งว่าให้เป็นอาจารย์สอนในด้านวิปัสสนา และพระอภิธรรม ท่านได้สอนที่วัดมหาธาตุ และที่สำนักอื่นๆในเขต กรุงเทพมหานคร ภายหลัง ท่านได้สร้างวัดและศูนย์ปฎิบัติธรรมในภาคใต้ที่จังหวัดภูเก็ต ของประเทศไทยอีกด้วย
ในปี 1972 (พ.ศ. 2515) ท่านได้ไปบุกเบิกสร้างวัดไทยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่เมืองนอร์ทฮอลลีวู๊ด รัฐแคริฟอร์เนีย 4 ปีต่อมาท่านได้สร้างวัดพุทธวราราม ที่นครเดนเวอร์ เป็นวัดที่สองที่ท่านได้ตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นที่เผยแผ่การปฎิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน
ท่ามกลางการชมเชย และสรรเสริญของสาธุชนทั้งไทยและเทศ ท่านอาจารย์โสปาโก โพธิ ได้เป็นที่ยอมรับจากนายกเทศมนตรีของนครลอสแอเจลิส และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทย สำหรับงานของท่านที่ได้ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปสู่ประเทศตะวันตก
ในปัจจุบันนี้ ท่านอาจารย์โสปาโก โพธิ ได้จำพรรษาอยู่ที่หมู่บ้านของท่านที่ วัดวังปลาโด เมืองไทย ณ สถานที่นั้น ท่านได้สร้างศูนย์ปฎิบัติวิปัสสนา และสร้างเจดีย์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเจดีย์นี้ได้สร้างขึ้นเลียนแบบเจดีย์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย ซึ่ง
เป็นสัญลักษณ์ว่าพระพุทธเจ้าได้มาตรัสรู้ ณ ที่นี้
ลูกศิษย์ และเพื่อนๆ ของท่านได้ระลึกถึงความอบอุ่น ความสงสาร อารมณ์ขันของท่าน และความพยายามที่จะเผยแผ่คำสั่งสอนพระพุทธเจ้าอย่างไม่บิดเบือน ท่านได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้ที่รอบรู้ในด้านวิปัสสนากรรมฐาน และพระอภิธรรม การเผยแพร่ความรู้ของท่านอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ได้ส่งผลต่อโลกโดยประมาณไม่ได้.